กระจกนิรภัยหลายชั้น-มอก.1222-2539

Forums Construction and Materials Specification – มาตรฐานวัสดุ กระจกนิรภัยหลายชั้น-มอก.1222-2539

  • This topic has 0 replies, 1 voice, and was last updated by Architerial.com.
Viewing 0 reply threads
  • Author
    Posts
    • #5654

      กระจกนิรภัยหลายชั้น-มอก.1222-2539 (กระจกสำหรับอาคาร) <<< คลิกเพื่อ Download

      กระจกนิรภัยหลายชั้น แบ่งตามลักษณะแผ่น ได้ 2 ประเภทคือ

      1.ประเภทแผ่นเรียบ แบ่งตามความทนแรกกระแทก และแบ่งตามความทนแรกกระแทกทะลุ ได้อีก 2 ขนิดคือ

      1.1 ชนิด I (L I) กระจกนิรภัย 2 ชั้นขึ้นไป ความหนาไม่จำกัด ทดสอบความทนแรงกระแทกแล้วกระจกต้องไม่แตก หรือถ้าแตก วัสดุคั่นกลางต้องไม่ฉีกขาด และอาจมีสะเก็ดหลุดออกไปได้บ้าง แต่ชิ้นกระจกที่แตกต้องไม่หลุดร่วงจนเห็นวัสดุคั่นกลาง

      1.2 ชนิด II (L II) กระจกนิรภัย 2 ชั้น ความหนาไม่เกิน 16 มม. ต้องผ่านการทดสอบความทนแรงกระแทก(เหมือน ชนิด I) และผ่านการทดสอบความทนแรงกระแทกทะลุอีกด้วย คือ กระจกจะต้องไม่แตกจนทะลุทั้ง 2 ชั้น ขนาดของช่องแตกที่ความสูงแรกที่กระจกแตกทะลุจะต้องไม่กว้างจนทำให้ลูกบอลล์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 75 มม. ผ่านได้โดยอิสระ

      2.ประเภทแผ่นโค้ง มีชนิดเดียว (CL I)

      ว้สดุที่ใช้ทำกระจกนิรภัยหลายชั้น ประกอบด้วย กระจก และ วัสดุคั่นกลาง (Polyvinylbutyral)

      โดยกระจก ให้ใช้

      – กระจกโฟลต มอก.880

      – กระจกนิรภัยเทมเปอร์ มอก.965

      – กระจกแผ่น มอก.54

      – กระจกเสริมลวด (Wired Plate Glass)

      – กระจกเสริมลวดขัดเงา (Wired Polished Plate Glass)

      – กระจกสีตัดแสงที่ทำจากกระจกโฟลตและกระจกขัดเงา (Heat Absorbing Float and Polished Plate Glass)

      สำหรับกระจกนิรภัยหลายชั้น ประเภท II ห้ามใช้กระจกนิรภัยเทมเปอร์หรือกระจกที่มีลวดเสริม เป็นวัสดุในการทำ

       

Viewing 0 reply threads
  • The forum ‘– มาตรฐานวัสดุ’ is closed to new topics and replies.