วิธีการ กำหนดและคำนวณ ขนาดของเครื่องปรับอากาศ ให้เหมาะสมกับพื้นที่ ในงานออกแบบ

Forums สัพเพเหระวัสดุและงานก่อสร้าง วิธีการ กำหนดและคำนวณ ขนาดของเครื่องปรับอากาศ ให้เหมาะสมกับพื้นที่ ในงานออกแบบ

Viewing 2 reply threads
  • Author
    Posts
    • #5625

      *Update 08/06/19

      “เครื่องปรับอากาศ” นั้นมีอยู่หลาย ระบบและขนาด วิธีการกำหนดและเลือกใช้นั้นขึ้นอยู่กับ ประเภทของการใช้และขนาดของพื้นที่เป็นสำคัญ

      1560072122347-01

      เบื้องต้นจะขออธิบาย เฉพาะเรื่อง. การกำหนดและคำนวณ ขนาดของ “เครื่องหรือระบบปรับอากาศ” ให้เหมาะสมขนาดของพื้นที่ที่เราต้องการปรับอากาศ(เรื่องของระบบและประเภทจะอธิบายอีกครั้ง) โดยมีประเด็นที่ต้องเข้าใจดังนี้
      1. ค่า BTU หรือ หน่วยวัดปริมาณความร้อน
      2.ค่าสัมประสิทธิ์ในการคำนวณ
      3.วิธีคำนวณขนาดเครื่องปรับอากาศอย่างง่าย

      1. ค่า BTU หรือ หน่วยวัดปริมาณความร้อน

      BTU (British Thermal Unit) คือ หน่วยที่ใช้วัดปริมาณความร้อนหน่วยหนึ่ง (หน่วยกำหนดเรื่อง เครื่องปรับอากาศ)
      ความหมายคือ 1 BTU คือปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 1 ปอนด์มีอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง 1 องศาฟาเรนไฮด์ เป็น การวัดกำลังความเย็นหรือความสามารถในการดึงความร้อน (ถ่ายเทความร้อน) ออกจากห้องปรับอากาศในหน่วยบีทียู (BTU)
      เช่น แอร์ขนาด  10,000 BTU/Hr. หมายความว่าแอร์เครื่องนั้นมีความสามารถในการดึงความร้อนออกจาก ห้องปรับอากาศ 10,000 บีทียูภายในเวลา 1 ชั่วโมง
      การเลือก BTU ให้พอเหมาะสมกับขนาดพื้นที่
      – ถ้าเลือก BTU สูงไป คอมเพรสเซอร์จะทำงานไม่สม่ำเสมอ ทำให้ประสิทธิ์ภาพเครื่องลดลง(เหมือนไฟเปิดปิดบ่อย) ทำให้ความชื้นในห้องสูง อูณหภูมิไม่คงที่ และ สิ้นเปลื้องพลังงานในการเปิดปิด
      – ถ้าเลือก BTU ต่ำไป คอมเพรสเซอร์จะทำงานตลอดเวลา เพราะความเย็นห้องไม่ได้ตามอุณหภูมิที่ต้องการ(ไม่เย็น) และสิ้นเปลื้องพลังงานทำงานตลอดเวลา และ เครื่องเสื่อมสภาพเร็ว

      2.ค่าสัมประสิทธิ์ในการคำนวณ

      การคำนวณขนาดเครื่องปรับอากาศ จำเป็นต้องรู้ ประเภทของการใช้งานในห้องนั้น ซึ่งเป็นตัวแปร(Factor) เบื้องต้นทางงานวิศวกรรมงานระบบ จึงกำหนด ค่าสัมประสิทธิ์ ของประเภทการใช้งานในแต่ละประเภทการใช้งาน เพื่อนำมาใช้ คำนวณขนาด ใน สูตรการคำนวณอย่างง่ายดังนี้
      ค่าสัมประสิทธิ์(Factor)
      * 750 ห้องนอน – ไม่โดนแดด
      * 800 ห้องนอน – โดนแดด
      * 850 ห้องทั่วไป – ไม่โดนแดด
      * 900 ห้องทั่วไป – โดนแดด
      * 950 – 1,100 ร้านอาหาร ร้านทำผม มินิมาร์ท ร้านค้า สำนักงาน – ไม่โดนแดด
      * 1,000 – 1,200 ร้านอาหาร ร้านทำผม มินิมาร์ท ร้านค้า สำนักงาน -โดนแดด

      3.วิธีคำนวณขนาดเครื่องปรับอากาศอย่างง่าย

      มีวิธีการคำนวณด้วยกันสองรูปแบบดังนี้

      รูปแบบที่ 1 การคำนวณโดยใช้พื้นที่ห้อง (กรณีความสูงฝ้าเพดาน 2.30-2.70 เมตร.)
      BTU = [กว้าง(เมตร) x ยาว(เมตร)] x ค่าสัมประสิทธิ์
      ตัวอย่างการคำนวณ
      ห้องนอน ไม่โดนแดด กว้าง 5.5 เมตร, ยาว 6 เมตร
      BTU = [5.5 m. x 6 m.] x 700
      = 33 sq.m x 700
      = 23,100
      ดังนั้นควรกำหนดเครื่องปรับอากาศ ให้มีขนาด 24,000 BTU (+- ไม่เกิน 1,000 – 1,500 BTU)

      รูปแบบที่ 2 การคำนวณโดยใช้ปริมาตรห้อง (กรณีความสูงฝ้าเพดานมากกว่า 3 เมตร.)
      BTU = [[กว้าง(เมตร) x ยาว(เมตร) x สูง(เมตร)] x ค่าสัมประสิทธิ์] / 3
      ตัวอย่างการคำนวณ
      ห้องนั่งเล่น โดนแดด กว้าง 4 เมตร, ยาว 8 เมตร, สูง 3.5 เมตร
      BTU  = [[4 m. x 8.5 m. x 3.5 m. ] x 900] / 3
      = [112 sq.m x 900] / 3
      = 107,100 / 3
      = 35,700
      ดังนั้นควรกำหนดเครื่องปรับอากาศ ให้มีขนาด 36,000 BTU (+- ไม่เกิน 1,000 – 1,500 BTU)

      ข้อพิจารณาเพิ่มเติม 

      • ตำแหน่งของห้องรับแดด
      • ระบบกันความร้อน
      • ความสูงของพื้นที่
      • การเชื่อมต่อกับพื้นที่ทั้งบนและล่าง
      • ขนาดของหน้าต่างหรือช่องเปิด
      •  ความถี่ในการเปิด/ปิดประตู เข้า/ออก
      • จำนวนคนในห้อง(ปัจจัยการคายความร้อน)
      • จำนวนอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดความร้อน เช่น คอมพิวเตอร์ ตู้เย็น ไมโครเวฟ เตาอบ
      • กรณีที่ประเภทการใช้งานซับซ้อนจำเป็นต้องใช้ระบบที่ซับซ้อนกว่านี้
    • #5633

      สถาปนิก ลุงหนวด ครับ แล้วเราสามารถ + BTU หลายๆเครื่องรวมกันได้เลยหรือครับ ถ้าเราจะแบ่งแอร์เป็นหลายๆตัว

      • #5869

        สามารถทำได้ครับเช่น

        ห้องนี้คำนวนมาแล้วต้องการ 45,000 BTU

        เราสามารใช้สองตัวได้ แต่ควรใช้สองตัวที่มีขนาด BTU ใกล้เคียงกันหรือเท่ากัน

    • #5643

      ค่าสัมประสิทธิ์ที่ใช้ในการคำนวณนี้ตายตัวแค่ไหนครับ

      สมมุติว่าคำนวณห้องนอนแถวๆภาคใต้ ที่มีฝน 8 แดด 4 จะยังคงใช้ค่านี้ได้หรือไม่ หรือเช็คได้จากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องในแต่ละพื้นที่

Viewing 2 reply threads
  • You must be logged in to reply to this topic.