ไม้ชนิดใด ควรใช้ในงานก่อสร้างแบบใด
การเลือกไม้ที่เหมาะสมกับงานก่อสร้าง
เราต้องรู้เสียก่อนว่า เราจะเอาไม้ไปทำอะไร ใช้กับส่วนไหนขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม
อ้างอิงจากหนังสือคุณลักษณะของไม้ไทย ของกรมป่าไม้
ได้แบ่งงานก่อสร้างของงานไม้เป็นหัวข้อ ดังนี้
1. งานก่อสร้างทั่วไป
2. วงกบและบานประตูหน้าต่าง
3. ฝาและเพดาน
4. พื้น
5. บันได
ข้อควรระลึกถึงในการเลือกใช้ไม้ในงานก่อสร้าง คือสภาพแวดล้อม ใช้กลางแจ้ง หรือในร่ม , อาคารมีระบบกันปลวกหรือไม่ งานนั้นๆต้องการความสวยงามในระดับใด
1. งานก่อสร้างทั่วไป
ไม้สำหรับงานประเภทนี้ต้องมีทั้งความแข็งแรง และความทนทาน
1.1 ไม้ก่อสร้างรับแรงมาก
ความแข็งแรง (กก/ตร.ซม.) | ความทนทาน (ปี) | |
ใช้ภายนอกอาคาร | สูงกว่า 1175 (*) | สูงกว่า 7.5 (**) |
ใช้ภายในไม่มีระบบกันปลวก | 1000-1175 | สูงกว่า 6 (**) |
ใช้ภายในมีระบบกันปลวก | 1000-1175 | สูงกว่า 2 (**) |
1.2 ไม้ก่อสร้างรับแรงปานกลาง
ความแข็งแรง (กก/ตร.ซม.) | ความทนทาน (ปี) | |
ใช้ภายนอกอาคาร | 1000-1175 | สูงกว่า 6 (**) |
ใช้ภายในไม่มีระบบกันปลวก | 600-1000 | สูงกว่า 6 (**) |
ใช้ภายในมีระบบกันปลวก | 600-1000 | สูงกว่า 2 (**) |
1.3 ไม้ก่อสร้างรับแรงน้อย
ความแข็งแรง (กก/ตร.ซม.) | ความทนทาน (ปี) | |
ใช้ภายนอกอาคาร | 600-800 | 6 (**) |
ใช้ภายในอาคาร | ต่ำกว่า 600 | 2 (**) |
หมายเหตุ :
(*) คือ ถือเอาไม้ตะเคียนทองเป็นหลัก
(**) คือ หรืออาบน้ำยา
2. วงกบและบานประตูหน้าต่าง
นอกจากความแข็งแรง และความทนทานแล้ว ต้องคำนึงถึงการหดพองตัวเนื่องจากการดูดหรือคายความชื้น รวมถึงไม้ที่ได้ผ่านการอบแห้งก็ทำให้ได้ผลงานดีขึ้น
ความแข็งแรง (กก/ตร.ซม.) | สูงกว่า 600 |
ความทนทาน (ปี) | สูงกว่า 2.0 หรืออาบน้ำยา |
การหดตัวจากสภาพสดถึงแห้งในอากาศ | ต่ำกว่า 3% |
3. ฝาและเพดาน
ไม้มี่เหมาะสมควรเป็นแบบเดียวกับไม้ก่อสร้างรับแรงปานกลาง ถึงน้อยก็เพียงพอ
ใช้ภายนอกอาคาร | การติดตั้งควรใช้วิธีที่ไม้เคลื่อนตัวได้บ้าง เวลาหดหรือพองตัวเนื่องจากถูกแดดฝน กันมิให้แตกเสียหาย |
ใช้ภายในอาคาร | เพื่อความสวยงาม ควรอบแห้งเสียก่อน |
4. พื้น
ต้องคำนึงถึงความแข็งแรง ความแข็ง ความทนทานแล้ว และการหดพองตัว แต่เนื่องจากความแข็งแรง และความแข็งมีความสัมพันธ์กันมากอยู่แล้วจึงไม่มีการกำหนดคุณสมบัติในตารางเพิ่ม
ความแข็งแรง (กก/ตร.ซม.) | ความทนทาน (ปี) | การหดตัว(%) | |
ใช้ภายนอก | สูงกว่า 600 | สูงกว่า 6 (**) | – |
ใช้ภายใน | | ||
– อย่างดี | สูงกว่า 600 | สูงกว่า 2 (**) | ต่ำกว่า 3 |
– อย่างธรรมดา | สูงกว่า 600 | สูงกว่า 2 (**) |
หมายเหตุ :
(**) คือ หรืออาบน้ำยา
5. บันได
ต้องคำนึงถึงความแข็งแรง ความแข็ง ความทนทานแล้ว และการหดพองตัว แต่เนื่องจากความแข็งแรง และความแข็งมีความสัมพันธ์กันมากอยู่แล้วจึงไม่มีการกำหนดคุณสมบัติในตารางเพิ่ม